ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดอุตรดิตถ์
ข้อมูลพื้นฐาน 9 ประเภทข้อมูลพื้นฐานจังหวัดอุตรดิตถ์
- ประวัติความเป็นมา
สมัยก่อนการเดินทางและการขนส่งสินค้าเพื่อขึ้นมาค้าขายทางตอนเหนือ ใช้การเดินทางทางน้ำ และแม่น้ำที่สามารถให้เรือสินค้า ประเภทเรือสำเภาบรรทุกสินค้าขึ้นลงได้สะดวกมีเพียง แม่น้ำน่าน โดยเดินทางจาก
กรุงเทพมหานคร และ กรุงศรีอยุธยา ขึ้นมาจนถึงตำบลบางโพท่าอิฐ (ท่าอิด) จังหวัดอุตรดิตถ์ เพราะเหนือแม่น้ำขึ้นไป มีสภาพตื้นเขิน และมีเกาะแก่งมาก ฉะนั้น ตำบลบางโพท่าอิฐ (ท่าอิด) จึงเป็นย่านการค้าที่สำคัญในสมัยก่อน เป็นที่รวม สินค้านานาชนิดที่พ่อค้าจากทางใต้ และพ่อค้าทางเหนือก็นำสินค้ามาจำหน่ายและแลกเปลี่ยนกัน ในปี 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระราชดำริเห็นว่า ตำบลนี้คงจะเจริญ ต่อไปภายหน้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นเมืองขึ้น เรียกว่า เมืองอุตรดิตถ์ (หมายความถึงเมืองท่าทางเหนือ) แต่ยัง ทรงโปรดให้เป็นเมืองขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในปี 2442 ให้ย้ายศาลากลางจากเมืองพิชัยไปตั้งที่เมืองอุตรดิตถ์
- คำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์
เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก
- ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ในสมัย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อราว พ.ศ. 2483 ดำริให้มีการออกแบบทำ
ตราประจำจังหวัดต่างๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์และนำเสนอปูชนียสถานปูชนียวัตถุที่สำคัญ ๆ ของแต่ละจังหวัดให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น ดังนั้น จึงได้นำรูปพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองของอุตรดิตถ์ มาผูกติดลวดลายเป็นตรา ประจำจังหวัด ตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกแบบครั้งแรกโดยพระพรหมพิจิตรเขียนลายเส้นโดย นายอุณห์ เศวตมาลย์ โดยทำเป็นรูปมณฑปประดิษฐาน พระแท่นศิลาอาสน์ ต่อมาทางราชการให้เพิ่มเติมรายละเอียดโดยทำรูปครุฑ ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน และลวดลายกนกมาประกอบไว้ พร้อมทั้งเพิ่มตัวอักษรอุตรดิตถ์เข้าไว้ในตราด้วย
- ธงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร มีพื้นสีแสดคาดแถบสีม่วงแก่ขนาด 70 เซนติเมตร 2 ริ้วตัดผ่าน กลางผืนธง เป็นรูปกากบาท และตรงกลางผืนธงจะมีเครื่องหมายดวงตรา
ประจำจังหวัด มีสัญลักษณ์เป็นพระแท่นศิลาอาสน์มีมณฑปสีเหลืองครอบอยู่สองข้างของมณฑปเป็น ลวดลายกนกสีน้ำเงินเข้ม ด้านหน้ามณฑปมีรูปครุฑ สีแดง ทั้งหมดบรรจุในกรอบวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เซนติเมตรด้านล่างมีตัวหนังสือชื่อจังหวัด
- แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์
- ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ในราวปี พ.ศ.2504 รัฐบาลเริ่มใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับแรกได้มีโครงการ พัฒนาท้องถิ่น หลายรูปแบบส่วนใหญ่เน้นเรื่องเศรษฐกิจในชุมชนเป็นหลักเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาส่วนหนึ่งจังหวัดจึงมีนโยบายให้หน่วยงานราชการทุกแห่งปลูกไม้ประดับและ ไม้ยืนต้นในพื้นที่ของส่วนราชการทุกแห่งและเสนอแนะ ให้ ปลูกพันธุ์ไม้ ชื่อ กัลปพฤกษ์ และพันธุ์ไม้ประดู่ ด้วยเหตุผล 2 ประการคือประเภทดอกสวยงาม และมีความแข็งแรงทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ต้นกัลปพฤกษ์เป็น ไม้เปลือกบางสู้ความแห้งแล้งไม่ได้ ตายไปเกือบหมด เหลือแต่ประดู่จึงกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดและดอกไม้ ประจำจังหวัดในโอกาสนั้น เนื่องจากไม้ประดู่โตช้ามาก ต่อมาจึงพยายามปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ และอินทนิน ขึ้นมาใหม่อีก ซึ่งยังคงมีเหลือให้เห็นอยู่บ้างส่วนหนึ่งก็ถูกตัด ทำลายไปเพราะกิ่งก้านมีผลกระทบต่อสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ ดังนั้นจึงยัง ยึดถือดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ในแนวคิดเดิม ชื่อเรียก ประดู่บ้าน ประดู่ลายสะโนและประดู่อินเดีย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นสูง 25 เมตรหรือมากกว่า ใบประกอบ 1 ใบ มี 7 -11 ใบย่อย ใบรูปไข่ หรือไข่แกมขอบขนาน มีดอกมากเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นหอม
- ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นสัก
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ต้นที่ยังอ่อน อยู่มีขนสูงได้ถึง 50 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามวงรีกว้าง 6 – 50 เซนติเมตร ยาว 11 – 95 เซนติเมตร ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง และซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นผลสด รูปค่อนข้างกลมมีขนละเอียดหนานุ่ม หุ้มมิดด้วยกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวเป็นไม้คุณภาพดีของประเทศและมีราคาแพงใช้ใน งานก่อสร้างและงานเฟอร์นิเจอร์ได้
- วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์
1.วิสัยทัศน์
“เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน”
เป้าประสงค์
- 1. ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพมีชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การปกครองอย่างมีคุณภาพ
- 2. ผลผลิตด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า ผลิตภัณฑ์ OTOP มีคุณภาพ ปลอดภัยและมีระบบการตลาดที่ดี
- 3. เป็นดินแดนแห่งความสงบสุข มีศิลปวัฒนธรมประเพณีที่ดีงาม มีจริยธรรม และเป็นเมืองน่าอยู่
- 4. มีการพัฒนาที่ยั่งยืน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์และพลังงานที่เพียงพอ
- 5. จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ มีศักยภาพการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์อันดี ทั้งภายในและระหว่างประเทศสูงขึ้น
พันธกิจ :
- 1. พัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ เด็ก มีความรู้ คู่คุณธรรม มีวินัย มีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และมีการสืบสานต่อไป มีความมั่นคงและยั่งยืนในการดำรงชีวิต
- 2. ส่งเสริม พัฒนา ผลผลิตด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า OTOP ให้มีคุณภาพประสิทธิภาพปลอดภัย และมีระบบการตลาดที่ดี
- 3. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
- 4. พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และพลังงาน
- 5. ส่งเสริมพัฒนาจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ และการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งภายในและระหว่างประเทศ
2.ประเด็นยุทธศาสตร์
2.1เสริมสร้างบ้านเมืองให้น่าอยู่ ชุมชนและครอบครัวเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
กลยุทธ์ :-
- พัฒนาและปรับปรุง โครงข่ายคมนาคมผังเมืองทุกระดับ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานให้ทั่วถึงและเชื่อมโยงกับจังหวัดและประเทศอื่น และรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของรัฐบาล
- เพิ่มศักยภาพบุคลากรและระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ให้สะอาด โปร่งใสตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานความเสมอภาค และเท่าเทียมโดยการสร้างโอกาสยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพและการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกสถาบันการศึกษาตลอดจนเปิดโอกาสในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตและเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรมและรวดเร็ว
- พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกเพศ ทุกวัย ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานให้มีงานทำ มีหลักประกันที่มั่นคงในชีวิต ส่งเสริมบริการสาธารณสุข สุขอนามัย สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และส่งเสริมการกีฬา
- เสริมสร้างสถาบันครอบครัวและชุมชนให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง ปลอดยาเสพติด มีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในการร่วมกันพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสมานฉันท์ และความมั่นคงภายในและชายแดน การบริหารวิกฤติการณ์ด้านสาธารณภัย และภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2พัฒนาภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน และมีการบริหารจัดการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ :-
- ส่งเสริม พัฒนากระบวนการผลิต ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยมุ่งพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- ส่งเสริมพัฒนาการปลูกพืช ด้วยระบบโซนนิ่งภาคการเกษตรการพัฒนาปศุสัตว์และประมงที่สอดคล้องกับการตลาด โดยส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ในภาคการเกษตร
- เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการให้กับภาคเกษตร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการตลอดจนการส่งเสริมกลุ่มOTOP กลุ่มธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs ให้มีความเข้มแข็ง
- ส่งเสริมการศึกษาการวิจัย การสร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตรกรรมอุตสาหกรรม และการแปรรูป และผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพ และปลอดภัย ตรงความต้องการของตลาดและเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว
2.3 พัฒนาทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว
กลยุทธ์ :-
- ทำนุบำรุง รักษา และสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น โดยการเชื่อมโยงกับการพัฒนาทางสังคมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจให้เป็นเมือง ๓ วัฒนธรรมที่มีเสน่ห์ยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการการประกอบอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการมีรายได้
- ส่งเสริมเชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวกับเพื่อนบ้านทั้งภายในและต่างประเทศ
- พัฒนาการท่องเที่ยวทุกด้าน ทุกพื้นที่ โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ และศักยภาพสูง
2.4อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำ และส่งเสริมพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ :-
- การสร้างสมดุลการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมกับการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดบ้อม การป้องกันตลิ่งพังทลาย การพัฒนาแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการเป็นระบบและคุ้มค่า และสนับสนุนขยายผลโครงการตามแนวพระราชดำริ
- กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ของประชาชนให้เพียงพอแก่การอยู่อาศัยและการเกษตรกรรม โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น อย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วม
- ส่งเสริมพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเมืองและท้องถิ่นภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อประโยชน์ในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนควบคุมและกำจัด ภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริม สนับสนุน การอนุรักษ์พลังงานและการบริหารจัดการด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในภาครัฐและเอกชนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
2.5 เพิ่มศักยภาพ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
กลยุทธ์ :-
- พัฒนาจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ในทุกด้านเพื่อให้เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- พัฒนาสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับจังหวัดทั้งภายในและระหว่างประเทศ และพัฒนาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดีระหว่างกันอย่างยั่งยืน
- พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ พัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจชายแดน และระบบ Logistics ให้เอื้อประโยชน์ต่อการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับการค้าและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- พัฒนาสินค้าและบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค คู่ค้า นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป
- สนับสนุนให้มีการปรับปรุง พัฒนา การท่องเที่ยวทุกด้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
- ลักษณะทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ์
9.1 ลักษณะทางภูมิศาสตร์
อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง เป็นประตูขึ้นสู่ดินแดนล้านนาตะวันออก เป็นเมืองก่อน
ประวัติศาสตร์ ตัวเมืองเดิมชื่อ บางโพท่าอิฐ ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดเมื่อ พ.ศ. 2476 “อุตรดิตถ์” หมายถึง เมืองท่าแห่งทิศเหนือ เป็นเมืองตำนานแม่ม่ายลับแล และเมืองถิ่นกำเนิดของวีรบุรุษกู้ชาติ “ พระยาพิชัยดาบหัก ” ทหารเอกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ 491 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟ 485 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดสุโขทัย
9.2 ภาพพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขาที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่าน
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม อยู่ในเขต อำเภอตรอน พิชัย และบางส่วนของ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล
และอำเภอทองแสนขัน (ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด)
ที่ราบระหว่างหุบเขาและเชิงเขา บริเวณที่อยู่ต่อเนื่องจากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทางด้านเหนือและ
ด้านตะวันออกของจังหวัด ประกอบด้วยที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวคลองตรอน แม่น้ำปาด คลองแม่พร่อง ห้วยน้ำไคร้ และลำธารสายต่างๆ สลับกับภูมิประเทศเป็นเขาอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล น้ำปาด ฟากท่า ท่าปลาและอำเภอบ้านโคก (ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด)
เขตภูเขาและที่สูง อยู่ในบริเวณทางด้านเหนือ และทางตะวันออกของจังหวัด โดยเฉพาะเขตอำเภอ
เมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล น้ำปาด ฟากท่า ท่าปลา และอำเภอบ้านโคก (ประมาณ 60% ของพื้นที่ทั้งหมด)
9.3 การใช้พื้นที่
พื้นที่ทั้งหมด 7,838 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,899,120 ไร่ เป็นอันดับที่ 11 ของ 17 จังหวัด ภาคเหนือ : อันดับที่ 25 ของประเทศ
9.4 การใช้ที่ดิน
1) พื้นที่การเกษตร 1,255,225 ไร่ คิดเป็น 26 % ของพื้นที่ทั้งหมด
1.1) พื้นที่ทำนา 610,057 ไร่ คิดเป็น 49 % ของพื้นที่การเกษตร
1.2) พื้นที่ทำไร่ 268,848 ไร่ คิดเป็น 21 % ของพื้นที่การเกษตร
1.3) พื้นที่ทำสวน 273,879 ไร่ คิดเป็น 22 % ของพื้นที่การเกษตร
1.4) พื้นที่การเกษตรอื่นๆ 102,441 ไร่ คิดเป็น 8 % ของพื้นที่การเกษตร
2) พื้นที่ป่าไม้ 3,075,568 ไร่ คิดเป็น 62 % ของพื้นที่ทั้งหมด
9.5 ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากกระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้มีความชื้น
และความร้อนสูง ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียสในฤดูกาล อากาศเย็นสบายและในฤดู ฝนมีฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนของจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ช่วง 957.3 มิลลิเมตร ถึง 1,695.9 มิลลิเมตร จำนวนวันฝนตกประมาณ 99 วัน
9.6 ศักยภาพที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
- ด้านเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนมาก (26% ของพื้นที่ทั้งหมด) ส่วนใหญ่เป็นนาข้าวและ
สวนผลไม้ เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของประเทศ
- ด้านการค้าชายแดน มีชายแดนติดต่อลาว 135 กม. มีการค้าชายแดนในแต่ละปี ณ จุดผ่อนปรน
ทางการค้าช่องภูดู่ ช่องห้วยต่าง และช่องมหาราช มูลค่าการค้าชายแดนกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งกำลังจะได้รับการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ และมีเส้นทางเชื่อมโยงกับจังหวัดต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้านได้โดยสะดวก ดังนี้
ระยะทาง
อุตรดิตถ์ ไป กรุงเทพฯ = 491 ก.ม.
อุตรดิตถ์ ไป เชียงใหม่ = 230 ก.ม.
อุตรดิตถ์ ไป ภูดู่ = 162 ก.ม.
- การท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งด้านประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ เช่น ภูสอยดาว
สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดในภูมิภาคนี้ และประเทศเพื่อนบ้านได้ โดยเป็นประตูเชื่อม 4 เมืองมรดกโลก ที่ใกล้ที่สุด :กำแพงเพชร / สุโขทัย / ศรีสัชนาลัย / หลวงพระบางและเป็นจุดเชื่อมโยงสู่ประเทสในกลุ่มอินโดจีน/อาเชียนได้โดยสะดวกอีกเส้นทางหนึ่งของประเทศ
- จุดที่ตั้งเป็นประตูเชื่อมภาคเหนือตอนบนกับภาคอีสานตอนบน
- แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ (เขื่อนสิริกิติ์) และแม่น้ำสำคัญ 3 สาย(แม่น้ำน่าน/แม่น้ำ
ปาด/คลองตรอน) มีฝนตกชุก
- เส้นทางคมนาคมดี สะดวกทั้งทางรถไฟ และรถยนต์ และมีพื้นที่จะพัฒนาเป็นศูนย์ขนส่งสินค้าทาง
รางรถไฟ (Contrainer Yard : CY) ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ
9.7ด้านการเมืองการปกครอง
จังหวัดอุตรดิตถ์แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น 9 อำเภอ 65 ตำบล (รวมเทศบาล
เมืองฯและเทศบาลศรีพนมมาศ) 613 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ พิชัย ตรอน ลับแล ท่าปลา
น้ำปาด ฟากท่า บ้านโคก และทองแสนขัน มีการแบ่งเขตการบริหารราชการ 3 ระดับ คือ
- ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค จำนวน 34 หน่วยงาน
- ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค จำนวน 60 หน่วยงาน
- ส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น 80 แห่ง ประกอบด้วย
3.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
3.2 เทศบาลเมือง จำนวน 1 แห่ง
3.3 เทศบาลตำบล จำนวน 25 แห่ง
3.4 องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 53 แห่ง
9.8ประชากร
จำนวนประชากรของจังหวัดทั้งสิ้น 461,051 คน ชาย 227,078 คน หญิง 233,973 คน ความหนาแน่น
เฉลี่ย 59 คน/ 1 ตารางกิโลเมตร อำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมี
ความหนาแน่น 199 คน/1 ตร.กม. และอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอบ้านโคก 14 คน /1 ตร.กม.
- Hits: 3869