By using this website, you agree to the use of cookies as described in our Privacy Policy.
Uttaradit, Thailand
Mon - Fri: 8:30 - 16:30 / Closed on Weekends

ข่าวประชาสัมพันธ์

  • act

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดอุตรดิตถ์

                                         ข้อมูลพื้นฐาน 9 ประเภทข้อมูลพื้นฐานจังหวัดอุตรดิตถ์

  1. ประวัติความเป็นมา

สมัยก่อนการเดินทางและการขนส่งสินค้าเพื่อขึ้นมาค้าขายทางตอนเหนือ ใช้การเดินทางทางน้ำ และแม่น้ำที่สามารถให้เรือสินค้า ประเภทเรือสำเภาบรรทุกสินค้าขึ้นลงได้สะดวกมีเพียง แม่น้ำน่าน โดยเดินทางจาก

กรุงเทพมหานคร และ กรุงศรีอยุธยา ขึ้นมาจนถึงตำบลบางโพท่าอิฐ (ท่าอิด) จังหวัดอุตรดิตถ์ เพราะเหนือแม่น้ำขึ้นไป มีสภาพตื้นเขิน และมีเกาะแก่งมาก ฉะนั้น ตำบลบางโพท่าอิฐ (ท่าอิด) จึงเป็นย่านการค้าที่สำคัญในสมัยก่อน เป็นที่รวม สินค้านานาชนิดที่พ่อค้าจากทางใต้ และพ่อค้าทางเหนือก็นำสินค้ามาจำหน่ายและแลกเปลี่ยนกัน ในปี 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระราชดำริเห็นว่า ตำบลนี้คงจะเจริญ ต่อไปภายหน้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นเมืองขึ้น เรียกว่า เมืองอุตรดิตถ์ (หมายความถึงเมืองท่าทางเหนือ) แต่ยัง ทรงโปรดให้เป็นเมืองขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในปี 2442 ให้ย้ายศาลากลางจากเมืองพิชัยไปตั้งที่เมืองอุตรดิตถ์

 

  1. คำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์

เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง   เมืองลางสาดหวาน   บ้านพระยาพิชัยดาบหัก   ถิ่นสักใหญ่ของโลก

 

  1. ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์

ในสมัย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อราว พ.ศ. 2483 ดำริให้มีการออกแบบทำ

ตราประจำจังหวัดต่างๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์และนำเสนอปูชนียสถานปูชนียวัตถุที่สำคัญ ๆ ของแต่ละจังหวัดให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น ดังนั้น จึงได้นำรูปพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองของอุตรดิตถ์ มาผูกติดลวดลายเป็นตรา ประจำจังหวัด ตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกแบบครั้งแรกโดยพระพรหมพิจิตรเขียนลายเส้นโดย  นายอุณห์ เศวตมาลย์ โดยทำเป็นรูปมณฑปประดิษฐาน พระแท่นศิลาอาสน์ ต่อมาทางราชการให้เพิ่มเติมรายละเอียดโดยทำรูปครุฑ ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน และลวดลายกนกมาประกอบไว้ พร้อมทั้งเพิ่มตัวอักษรอุตรดิตถ์เข้าไว้ในตราด้วย

  1. ธงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์

มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร มีพื้นสีแสดคาดแถบสีม่วงแก่ขนาด 70 เซนติเมตร 2 ริ้วตัดผ่าน กลางผืนธง เป็นรูปกากบาท และตรงกลางผืนธงจะมีเครื่องหมายดวงตรา

ประจำจังหวัด มีสัญลักษณ์เป็นพระแท่นศิลาอาสน์มีมณฑปสีเหลืองครอบอยู่สองข้างของมณฑปเป็น ลวดลายกนกสีน้ำเงินเข้ม ด้านหน้ามณฑปมีรูปครุฑ สีแดง ทั้งหมดบรรจุในกรอบวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เซนติเมตรด้านล่างมีตัวหนังสือชื่อจังหวัด

 

  1. แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์

 

 

 

  1. ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกประดู่

 

 

ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ในราวปี พ.ศ.2504 รัฐบาลเริ่มใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับแรกได้มีโครงการ พัฒนาท้องถิ่น หลายรูปแบบส่วนใหญ่เน้นเรื่องเศรษฐกิจในชุมชนเป็นหลักเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาส่วนหนึ่งจังหวัดจึงมีนโยบายให้หน่วยงานราชการทุกแห่งปลูกไม้ประดับและ ไม้ยืนต้นในพื้นที่ของส่วนราชการทุกแห่งและเสนอแนะ ให้ ปลูกพันธุ์ไม้ ชื่อ กัลปพฤกษ์ และพันธุ์ไม้ประดู่ ด้วยเหตุผล 2  ประการคือประเภทดอกสวยงาม และมีความแข็งแรงทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ต้นกัลปพฤกษ์เป็น ไม้เปลือกบางสู้ความแห้งแล้งไม่ได้ ตายไปเกือบหมด เหลือแต่ประดู่จึงกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดและดอกไม้ ประจำจังหวัดในโอกาสนั้น เนื่องจากไม้ประดู่โตช้ามาก ต่อมาจึงพยายามปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ และอินทนิน ขึ้นมาใหม่อีก ซึ่งยังคงมีเหลือให้เห็นอยู่บ้างส่วนหนึ่งก็ถูกตัด ทำลายไปเพราะกิ่งก้านมีผลกระทบต่อสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ ดังนั้นจึงยัง ยึดถือดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ในแนวคิดเดิม ชื่อเรียก ประดู่บ้าน ประดู่ลายสะโนและประดู่อินเดีย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นสูง 25 เมตรหรือมากกว่า ใบประกอบ 1 ใบ มี 7 -11 ใบย่อย ใบรูปไข่ หรือไข่แกมขอบขนาน มีดอกมากเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นหอม

 

  1. ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นสัก

 

ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ต้นที่ยังอ่อน อยู่มีขนสูงได้ถึง 50 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามวงรีกว้าง 6 – 50 เซนติเมตร ยาว 11 – 95 เซนติเมตร ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง และซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นผลสด รูปค่อนข้างกลมมีขนละเอียดหนานุ่ม หุ้มมิดด้วยกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวเป็นไม้คุณภาพดีของประเทศและมีราคาแพงใช้ใน งานก่อสร้างและงานเฟอร์นิเจอร์ได้

  1. วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์

1.วิสัยทัศน์

เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน

 

เป้าประสงค์

  1. 1. ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพมีชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การปกครองอย่างมีคุณภาพ
  2. 2. ผลผลิตด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า ผลิตภัณฑ์ OTOP มีคุณภาพ ปลอดภัยและมีระบบการตลาดที่ดี
  3. 3. เป็นดินแดนแห่งความสงบสุข มีศิลปวัฒนธรมประเพณีที่ดีงาม มีจริยธรรม และเป็นเมืองน่าอยู่
  4. 4. มีการพัฒนาที่ยั่งยืน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์และพลังงานที่เพียงพอ
  5. 5. จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ มีศักยภาพการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์อันดี ทั้งภายในและระหว่างประเทศสูงขึ้น

พันธกิจ :

  1. 1. พัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ เด็ก มีความรู้ คู่คุณธรรม มีวินัย มีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และมีการสืบสานต่อไป มีความมั่นคงและยั่งยืนในการดำรงชีวิต
  2. 2. ส่งเสริม พัฒนา ผลผลิตด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า OTOP ให้มีคุณภาพประสิทธิภาพปลอดภัย และมีระบบการตลาดที่ดี
  3. 3. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
  4. 4. พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และพลังงาน
  5. 5. ส่งเสริมพัฒนาจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ และการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

 

2.ประเด็นยุทธศาสตร์

     2.1เสริมสร้างบ้านเมืองให้น่าอยู่ ชุมชนและครอบครัวเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี

กลยุทธ์ :-

  1. พัฒนาและปรับปรุง โครงข่ายคมนาคมผังเมืองทุกระดับ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานให้ทั่วถึงและเชื่อมโยงกับจังหวัดและประเทศอื่น และรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของรัฐบาล
  2. เพิ่มศักยภาพบุคลากรและระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ให้สะอาด โปร่งใสตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
  3. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานความเสมอภาค และเท่าเทียมโดยการสร้างโอกาสยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพและการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกสถาบันการศึกษาตลอดจนเปิดโอกาสในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตและเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรมและรวดเร็ว
  4. พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกเพศ ทุกวัย ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานให้มีงานทำ มีหลักประกันที่มั่นคงในชีวิต ส่งเสริมบริการสาธารณสุข สุขอนามัย สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และส่งเสริมการกีฬา
  5. เสริมสร้างสถาบันครอบครัวและชุมชนให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง ปลอดยาเสพติด มีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในการร่วมกันพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสมานฉันท์ และความมั่นคงภายในและชายแดน การบริหารวิกฤติการณ์ด้านสาธารณภัย และภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     2.2พัฒนาภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน และมีการบริหารจัดการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ :-

  1. ส่งเสริม พัฒนากระบวนการผลิต ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยมุ่งพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  2. ส่งเสริมพัฒนาการปลูกพืช ด้วยระบบโซนนิ่งภาคการเกษตรการพัฒนาปศุสัตว์และประมงที่สอดคล้องกับการตลาด โดยส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ในภาคการเกษตร
  3. เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการให้กับภาคเกษตร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการตลอดจนการส่งเสริมกลุ่มOTOP กลุ่มธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs ให้มีความเข้มแข็ง
  4. ส่งเสริมการศึกษาการวิจัย การสร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตรกรรมอุตสาหกรรม และการแปรรูป และผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพ และปลอดภัย ตรงความต้องการของตลาดและเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว

     2.3 พัฒนาทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว

กลยุทธ์ :-

  1. ทำนุบำรุง รักษา และสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น โดยการเชื่อมโยงกับการพัฒนาทางสังคมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจให้เป็นเมือง ๓ วัฒนธรรมที่มีเสน่ห์ยิ่งขึ้น
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการการประกอบอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการมีรายได้
  3. ส่งเสริมเชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวกับเพื่อนบ้านทั้งภายในและต่างประเทศ
  4. พัฒนาการท่องเที่ยวทุกด้าน ทุกพื้นที่ โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ และศักยภาพสูง

     2.4อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำ และส่งเสริมพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ :-

  1. การสร้างสมดุลการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมกับการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดบ้อม การป้องกันตลิ่งพังทลาย การพัฒนาแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการเป็นระบบและคุ้มค่า และสนับสนุนขยายผลโครงการตามแนวพระราชดำริ
  2. กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ของประชาชนให้เพียงพอแก่การอยู่อาศัยและการเกษตรกรรม โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น อย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วม
  3. ส่งเสริมพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเมืองและท้องถิ่นภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อประโยชน์ในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  4. ส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนควบคุมและกำจัด ภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
  5. ส่งเสริม สนับสนุน การอนุรักษ์พลังงานและการบริหารจัดการด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในภาครัฐและเอกชนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน

     2.5 เพิ่มศักยภาพ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

กลยุทธ์ :-

  1. พัฒนาจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ในทุกด้านเพื่อให้เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  2. พัฒนาสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับจังหวัดทั้งภายในและระหว่างประเทศ และพัฒนาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดีระหว่างกันอย่างยั่งยืน
  3. พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ พัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจชายแดน และระบบ Logistics ให้เอื้อประโยชน์ต่อการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับการค้าและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  4. พัฒนาสินค้าและบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค คู่ค้า นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป
  5. สนับสนุนให้มีการปรับปรุง พัฒนา การท่องเที่ยวทุกด้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

 

  1. ลักษณะทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ์

     9.1 ลักษณะทางภูมิศาสตร์

อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง เป็นประตูขึ้นสู่ดินแดนล้านนาตะวันออก เป็นเมืองก่อน

ประวัติศาสตร์ ตัวเมืองเดิมชื่อ บางโพท่าอิฐ ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดเมื่อ พ.ศ. 2476 “อุตรดิตถ์” หมายถึง เมืองท่าแห่งทิศเหนือ เป็นเมืองตำนานแม่ม่ายลับแล และเมืองถิ่นกำเนิดของวีรบุรุษกู้ชาติ “ พระยาพิชัยดาบหัก ” ทหารเอกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ 491 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟ 485 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน

ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก

ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดสุโขทัย

     9.2 ภาพพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

ที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขาที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่าน

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม อยู่ในเขต อำเภอตรอน พิชัย และบางส่วนของ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล

และอำเภอทองแสนขัน (ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด)

ที่ราบระหว่างหุบเขาและเชิงเขา บริเวณที่อยู่ต่อเนื่องจากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทางด้านเหนือและ

ด้านตะวันออกของจังหวัด ประกอบด้วยที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวคลองตรอน แม่น้ำปาด คลองแม่พร่อง ห้วยน้ำไคร้ และลำธารสายต่างๆ สลับกับภูมิประเทศเป็นเขาอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล น้ำปาด ฟากท่า ท่าปลาและอำเภอบ้านโคก (ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด)

เขตภูเขาและที่สูง อยู่ในบริเวณทางด้านเหนือ และทางตะวันออกของจังหวัด โดยเฉพาะเขตอำเภอ

เมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล น้ำปาด ฟากท่า ท่าปลา และอำเภอบ้านโคก (ประมาณ 60% ของพื้นที่ทั้งหมด)

     9.3 การใช้พื้นที่

พื้นที่ทั้งหมด 7,838 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,899,120 ไร่ เป็นอันดับที่ 11 ของ 17 จังหวัด ภาคเหนือ : อันดับที่ 25 ของประเทศ

     9.4 การใช้ที่ดิน

1) พื้นที่การเกษตร 1,255,225 ไร่ คิดเป็น 26 % ของพื้นที่ทั้งหมด

1.1) พื้นที่ทำนา 610,057 ไร่ คิดเป็น 49 % ของพื้นที่การเกษตร

1.2) พื้นที่ทำไร่ 268,848 ไร่ คิดเป็น 21 % ของพื้นที่การเกษตร

1.3) พื้นที่ทำสวน 273,879 ไร่ คิดเป็น 22 % ของพื้นที่การเกษตร

1.4) พื้นที่การเกษตรอื่นๆ 102,441 ไร่ คิดเป็น 8 % ของพื้นที่การเกษตร

2) พื้นที่ป่าไม้ 3,075,568 ไร่ คิดเป็น 62 % ของพื้นที่ทั้งหมด

     9.5 ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากกระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้มีความชื้น

และความร้อนสูง ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียสในฤดูกาล อากาศเย็นสบายและในฤดู ฝนมีฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนของจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ช่วง 957.3 มิลลิเมตร ถึง 1,695.9 มิลลิเมตร จำนวนวันฝนตกประมาณ 99 วัน

     9.6 ศักยภาพที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์

  1. ด้านเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนมาก (26% ของพื้นที่ทั้งหมด) ส่วนใหญ่เป็นนาข้าวและ

สวนผลไม้ เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของประเทศ

  1. ด้านการค้าชายแดน มีชายแดนติดต่อลาว 135 กม. มีการค้าชายแดนในแต่ละปี ณ จุดผ่อนปรน

ทางการค้าช่องภูดู่ ช่องห้วยต่าง และช่องมหาราช มูลค่าการค้าชายแดนกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งกำลังจะได้รับการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ และมีเส้นทางเชื่อมโยงกับจังหวัดต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้านได้โดยสะดวก ดังนี้

ระยะทาง

อุตรดิตถ์ ไป กรุงเทพฯ = 491 ก.ม.

อุตรดิตถ์ ไป เชียงใหม่ = 230 ก.ม.

อุตรดิตถ์ ไป ภูดู่ = 162 ก.ม.

  1. การท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งด้านประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ เช่น ภูสอยดาว

สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดในภูมิภาคนี้ และประเทศเพื่อนบ้านได้ โดยเป็นประตูเชื่อม 4 เมืองมรดกโลก ที่ใกล้ที่สุด :กำแพงเพชร / สุโขทัย / ศรีสัชนาลัย / หลวงพระบางและเป็นจุดเชื่อมโยงสู่ประเทสในกลุ่มอินโดจีน/อาเชียนได้โดยสะดวกอีกเส้นทางหนึ่งของประเทศ

  1. จุดที่ตั้งเป็นประตูเชื่อมภาคเหนือตอนบนกับภาคอีสานตอนบน
  2. แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ (เขื่อนสิริกิติ์) และแม่น้ำสำคัญ 3 สาย(แม่น้ำน่าน/แม่น้ำ

ปาด/คลองตรอน) มีฝนตกชุก

  1. เส้นทางคมนาคมดี สะดวกทั้งทางรถไฟ และรถยนต์ และมีพื้นที่จะพัฒนาเป็นศูนย์ขนส่งสินค้าทาง

รางรถไฟ (Contrainer Yard : CY) ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ

     9.7ด้านการเมืองการปกครอง

จังหวัดอุตรดิตถ์แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น 9 อำเภอ 65 ตำบล (รวมเทศบาล

เมืองฯและเทศบาลศรีพนมมาศ) 613 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ พิชัย ตรอน ลับแล ท่าปลา

น้ำปาด ฟากท่า บ้านโคก และทองแสนขัน มีการแบ่งเขตการบริหารราชการ 3 ระดับ คือ

  1. ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค จำนวน 34 หน่วยงาน
  2. ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค จำนวน 60 หน่วยงาน
  3. ส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น 80 แห่ง ประกอบด้วย

3.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง

3.2 เทศบาลเมือง จำนวน 1 แห่ง

3.3 เทศบาลตำบล จำนวน 25 แห่ง

3.4 องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 53 แห่ง

     9.8ประชากร

จำนวนประชากรของจังหวัดทั้งสิ้น 461,051 คน ชาย 227,078 คน หญิง 233,973 คน ความหนาแน่น

เฉลี่ย 59 คน/ 1 ตารางกิโลเมตร อำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมี

ความหนาแน่น 199 คน/1 ตร.กม. และอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอบ้านโคก 14 คน /1 ตร.กม.

Related Articles